Garage House สำหรับอยู่เองและให้เช่าด้วย
Garage House สำหรับอยู่เองและให้เช่าด้วย
โดยสถาปนิก เคนทาโร ยามาโมโตะ
วันนี้เราจะมาดูผลงานการออกแบบ Garage House ของสถาปนิก เคนทาโร ยามาโมโตะ กัน โดยตัวอย่างผลงานที่นี้ ทำขึ้นในปี 2011 บ้านตั้งอยู่ในทำเลที่ดี เดินจากสถานีอาซามิโนะ สายโตคิวเด็งเอ็งโตชิไปประมาณ 8 นาที เป็นทำเลที่คนนิยมในชานกรุงโตเกียว ทิวทัศน์รอบข้างมีถนนลาดชันจำนวนมาก เพราะตัดภูเขามาสร้างเป็นเมือง ที่ตั้งของบ้านก็อยู่บนเนินที่ถนนหน้าบ้านลาดชัน ที่ตั้งดีเพราะอยู่บนที่สูงพอสมควร
คุณเคนทาโร วางแผนสร้างบ้าน 2 หลังขนาด 3 LDK รวมที่จอดรถ 2 คัน ถึงจะเป็นบ้านให้เช่า แต่ก็ออกแบบให้สามารถเพลิดเพลินกับ Garage Life ในฉบับนี้จะขอเล่าถึงบ้านหลัง A ที่อยู่ซ้ายมือ ซึ่งตั้งอยู่หัวมุมเป็นหลัก
ถ้ามองดูแปลนบ้านชั้น 1 จะเห็นว่าพื้นโถงเข้าบ้านค่อนข้างกว้าง เป็นวิธีการออกแบบที่นิยมสำหรับครอบครัวที่มีเด็ก เพราะสามารถวางรถเข็นเด็ก Skater หรือรถขับเล่นของเด็กได้ จะสะดวกดีมาก ถ้าเป็นบ้านเก่าในต่างจังหวัด พื้นแบบนี้จะดูเป็นของธรรมดา ผมจึงนำมาใช้กับบ้านสมัยใหม่ด้วย ดูๆ อาจเป็นการใช้พื้นที่ที่สิ้นเปลือง แต่จริงๆ แล้วมีประโยชน์มาก ถ้าท่านมีพื้นที่มากพอก็อยากให้ลองออกแบบเช่นนี้ดูบ้าง ท่านสามารถเข้าโรงจอดรถจากบริเวณนี้ได้ด้วย สามารถเก็บรองเท้าต่างๆ ไว้ในที่เดียวกัน เวลาที่ซื้อของมาก็ขนเข้ามาได้สะดวก
ชั้น 1 ที่มีห้องนอน เป็น Skip Floor ที่ใช้ประโยชน์จากรูปทรงของที่ดิน พอขึ้นไปชั้น 2 จะพบห้อง LDK กว้าง 49.69 ตารางเมตร ห้องนั่งเล่นอยู่เหนือโรงจอดรถ เพดานสูง 3.7 เมตร ที่ทำได้เพราะลดความสูงของเพดานโรงจอดรถให้เหลือ 2.1 เมตร รถ Mercedes G-series สูงประมาณ 2.0 เมตร คุณเคนทาโรมักจะออกแบบโรงจอดรถตามมาตรฐานนี้ เนื่องจากไม่ค่อยพบรถที่สูงกว่านี้ ส่วนบันไดจากห้องนั่งเล่นขึ้นไปห้องอาหารและห้องครัวออกแบบให้รูปร่างต่างไปจากปกตินิดหน่อย คือมีขนาดที่ลงนั่งได้สบาย เพราะจากบันไดใหญ่ตรงนี้ เวลาที่ทุกคนนั่งลงแล้วหันไปทางกำแพงทิศตะวันตก จะมีจอโปรเจ็กเตอร์ขนาดใหญ่สำหรับชมภาพยนตร์ได้ บริเวณบันไดก็มีการฝังที่เสียบปลั๊กและสายไฟที่จำเป็นต่อการฉายภาพไว้ด้วย สำหรับห้องอาหารและห้องครัวที่สามารถมองลงมาเห็นห้องนั่งเล่นจากมุมสูงเป็นส่วนที่ดีที่สุด ทำให้ห้องที่กว้างอยู่แล้วดูกว้างขึ้นไปอีก
บนผนังกำแพงด้านนอกติดแผ่นไม้สนซูงิ การใช้ไม้ธรรมชาติ สีสันและเนื้อไม้จะค่อยๆ เปลี่ยนไปตามเวลา ถึงจะเลอะก็ยังเป็นดูมีรสชาติ ถ้าเปรียบกับคน อาจพูดได้ว่าเป็น “การแก่ชราที่ดูดี” กระมัง แต่ถ้าใช้วัสดุก่อสร้าง siding แบบใหม่คงไม่เป็นเช่นนี้ เพราะไม่มี “รสชาติ” เวลาเลอะก็แค่สกปรก แต่วัสดุตามธรรมชาติก็มีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา ซึ่งไม่ต่างจากรถหรือมอเตอร์ไซค์
PROFILE
Kentaro Yamamoto (เคนทาโร ยามาโมโตะ)
สถาปนิกระดับ 1 สถาปนิกผู้ควบคุมงาน
ประธานกรรมการบริหาร Ka Design Ltd.
6-11-9 Albelgo Tsuda 1F, Koyama, Shinagawa District, Tokyo
URL http://www.ka-design-studio.com
Blog http://ka-design.cocolog-nifty.com/blog/
Mail fwkv9367@nifty.com
Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.