ป้อมปราการสำหรับงานอดิเรกสะดวกสบายทั้งรถและคน
บ้านคุณมิชินะ จังหวัดจิบะ
แม้ว่าตัวเอกของโรงจอดรถจะเป็นรถยนต์อย่างไม่ต้องสงสัยแต่เพื่อไม่ให้เป็นแค่ “โรงจอดรถ” เฉย ๆ จึงออกแบบให้เป็นพื้นที่ที่อยู่แล้วร่มเย็น สำหรับคนที่ใช้เวลาอยู่ข้างในด้วย
เรื่อง: ชุนสุเกะ โอบุจิ
ภาพ: มาซายูกิ โยชิมิ แปล: รติรส สุนทรพรประภา
บนเนินที่มองเห็นสุสานหอยยามาซากิ ซึ่งมีมาตั้งแต่ยุคกลางจนถึงยุคปลายสมัยโจมง และในปัจจุบันก็ถูกกำหนดให้เป็นร่องรอยทางประวัติศาสตร์ของประเทศ เป็นที่ตั้งของโรงจอดรถที่จะมาแนะนำกันในคราวนี้
“ก่อนหน้านี้ผมอาศัยอยู่ไม่ไกลจากที่นี่เท่าไร ถึงจะถูกใจที่นั่น แต่ความยอดเยี่ยมของโลเกชั่นบนที่ดินผืนนี้ได้กลายมาเป็นเหตุผลในการสร้างโรงจอดรถขึ้นมา”
แม้ว่าวันที่ไปถ่ายภาพจะมีอากาศสดชื่นราวกับฤดูใบไม้ผลิ แต่เมื่อหักเรื่องนั้นออกไป กล่าวได้ว่าบ้านคุณมิชินะที่โดนแสงอาทิตย์สาดส่องได้ดีนั้นมันช่างวิเศษจริง ๆ
คุณมิชินะผู้ซึ่งหลงใหลในโรงจอดรถมาตั้งแต่สมัยก่อน เปิดกิจการรับออกแบบและสร้างบ้าน กล่าวได้ว่า เป็นมืออาชีพในการสร้างบ้าน และในขณะเดียวกันก็มีความผูกพันใกล้ชิดกับรถและมอเตอร์ไซค์มาตั้งแต่สมัยเรียนมัธยมฯ จึงเป็นผู้ชื่นชอบรถยนต์เข้าเส้น เปลี่ยนรถมาแล้วกว่า 50 คัน ดังนั้น จึงวาดฝันถึงโรงจอดรถในฝัน ซึ่งสิ่งที่คุณมิชินะใส่ใจในการสร้างบ้านมากที่สุดก็คือเรื่องของ air tightness (การปิดรอยต่อของตัวบ้าน ทำให้อากาศในบ้านบริสุทธิ์)
“บ้านยุคนี้มีช่องเยอะมากจริง ๆ เพื่อชดเชยตรงนั้นจึงต้องติดเครื่องปรับอากาศทุกห้อง เพื่อป้องกันเชื้อราที่เกิดจากความชื้น การวางสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราจึงกลายเป็นเรื่องธรรมดาไป ซึ่งไม่ดีต่อร่างกายและภาวะทางเศรษฐกิจเลย”
บ้านของคุณมิชินะปิดด้วยฉนวนกันความร้อนบนโครงฐานก่อนเป็นอันดับแรก หลังจากเพิ่มระดับของ air tightness แล้ว จึงกรุผนังภายนอก พอได้ยินแบบนี้อาจมีบางท่านที่คิดว่าอากาศถ่ายเทไม่สะดวก แต่การเพิ่มระดับของ air tightness เกี่ยวเนื่องไปถึงการเพิ่มประสิทธิภาพในการถ่ายเทอากาศด้วย และมีการไหลเวียนของอากาศตามธรรมชาติเกิดขึ้น ในการสร้างบ้านหลังนี้ขึ้นมาจริง ๆ จึงมีเครื่องปรับอากาศสำหรับห้องนั่งเล่นขนาดใหญ่เพียงตัวเดียว แต่ถึงอย่างนั้นเมื่อถึงเวลา 14.00 น. ที่อุณหภูมิเพิ่มขึ้น ก็จะไม่รู้สึกถึงอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นจนไม่สบายตัวเลย
โรงจอดรถที่สร้างขึ้นหันหน้าชนกับตัวบ้านคั่นด้วยสวนนั้น ใช้เสาจากต้น Japanese Red Pine เป็นหลัก สร้างคาน และใช้ไม้อัด OSB (Oriented Strand Board) เพราะใช้ไม้อัด OBF ที่ผลิตขึ้นจากเศษไม้บาง ๆ อัดด้วยอุณหภูมิสูง ทำให้น่าสนใจตรงที่ดึงเอาความรู้สึกที่แตกต่างบนผนังภายในออกมา
นอกจากนั้น ยังนำวิธีการติดฉนวนกันความร้อนไว้นอกกำแพง (External Wall Insulation) บนหลังคาและส่วนที่เป็นพื้น จึงมีความโดดเด่นในเรื่องของอุณหภูมิที่ไม่ต่างกับภายนอกมากนัก เมื่อพูดถึงโรงจอดรถแล้ว ส่วนใหญ่ในฤดูร้อนและฤดูหนาวก็จะมีสภาพแวดล้อมแย่ถึงขนาดทำให้ต้องผละออกจากงานกลางคัน แต่สำหรับโรงจอดรถของคุณมิชินะไม่ต้องกังวลกับเรื่องนี้เลย นอกจากนั้น ยังนำไม้ฟืนสำหรับเตาผิงที่ตากจนแห้งแล้วมาเก็บไว้ในโรงจอดรถ สำหรับควบคุมความชื้นอีกด้วย
ส่วนประตูซึ่งถือเป็นหน้าตาของโรงจอดรถ ก็เป็นจุดเด่นของบ้านคุณมิชินะ ประตูแบบเปิดออกด้านข้างสร้างบนช่องประตูขนาดราว 5.5 ม. นั้น ก็ทำขึ้นมาในแบบไม่เหมือนใคร ช่วยสร้างบรรยากาศผ่อนคลายกำลังดีด้วยผิวสัมผัสของไม้สนอัด
GARAGE LIFE EXAMPLE โรงจอดรถที่สะดวกสบายทุกฤดูกาล
A RESIDENCE OF Mr. MISHINA ขึ้นอยู่กับระดับของ Air Tightness
PLANNING DATA & MATERIALS
GARAGE LIFE EXAMPLE จุดสำคัญคือ ไม่สร้างให้เสร็จตั้งแต่แรก
A RESIDENCE OF Mr. MISHINA ให้คน รถ และสิ่งปลูกสร้างเติบโตไปพร้อมกัน
ตามปกติในโรงจอดรถก็จะใช้เก็บพวกอุปกรณ์ outdoor ที่เป็นงานอดิเรกกับเครื่องมือปลูกผักสวนครัวที่เพิ่งเริ่มทำมาไม่นาน แต่ในอนาคตจะใช้เป็นที่ปรับแต่งรถมอเตอร์ไซค์ที่จอดเก็บไว้อีกที่หนึ่งด้วย
Jaguar ที่จอดอยู่สำหรับขับทางไกล ส่วน Z3 สำหรับขับในวันอากาศดี เพราะต้องขนเครื่องมือในการทำงานกับอุปกรณ์ก่อสร้างบ่อย ๆ รถกระบะจึงเป็นอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้ด้วยเช่นกัน Mazda Proceed ที่หามา สามารถใส่อุปกรณ์ก่อสร้างขนาด 90.9 ซม. x 181.8 ซม. ได้คันนี้ ผ่านการใช้งานมาอย่างโชกโชนทั้งไป outdoor กับเพื่อนร่วมงานหรือแขก ระยะวิ่งจึงเกินกว่า 200,000 แล้ว นอกจากนั้น เมื่อมองดูในส่วนที่คุณมิชินะเล่าให้ฟัง ถึงความมีเสน่ห์ที่สัมผัสได้ทั้งในเรื่องดีไซน์และเครื่องกลสำหรับรถโบราณที่ไม่เกี่ยงว่าจะผลิตในประเทศหรือนำเข้าแล้ว เร็ว ๆ นี้รถคลาสสิกอาจจะมาเป็นตัวเอกของโรงจอดรถก็เป็นได้ แต่ด้วยคติพจน์ที่ว่า “ไม่สร้างให้เสร็จตั้งแต่แรก แต่จงสร้างบ้านที่จะเติบโตไปพร้อมกับกาลเวลา” จึงทำให้รู้สึกลึก ๆ ว่า ไม่ว่าจะนำรถแบบไหนเข้ามาจอด ก็ไม่มีความรู้สึกขัดแย้งเกิดขึ้น
ตัวเอกของโรงจอดรถไม่ว่ายังไงก็คือรถ แต่ถึงอย่างนั้นการได้ซ่อมบำรุง เป็นช่างไม้ในวันหยุด ชื่นชมคอลเล็กชั่น พร้อมกับพูดคุยกับเพื่อนฝูงไปด้วยนั้น ต้องทำให้ความมีเสน่ห์เพิ่มขึ้นจากการใช้งานอย่างเต็มที่แน่นอน สำหรับโรงจอดรถที่ว่ามานั้น คงกล่าวได้ว่าตัวอย่างจากบ้านคุณมิชินะ ตอบโจทย์ข้อหนึ่งในหัวข้อ “ใช้เวลาอันมีค่าอย่างร่มเย็นเป็นสุข” แล้ว
PLANNING DATA
สถานที่ จังหวัดจิบะ
เจ้าของ คุณโนบุโยชิ มิชินะ
แล้วเสร็จ ตุลาคม 2013
โครงสร้าง โครงสร้างไม้แบบดั้งเดิม
พื้นที่ก่อสร้าง 650 ตารางเมตร
พื้นที่โรงรถ 40 ตารางเมตร
รถยนต์คันโปรด BMW Z3 Roadster รุ่นปี 2001
Jaguar XJR รุ่นปี 2000
Mazda Proceed รุ่นปี 2000
OWNER CHECK
สิ่งที่ชอบที่สุด ความสะดวกสบายที่มาจากความกว้างขวางกับฉนวนป้องกันความร้อนที่ทำให้จอดรถได้สบาย
ความฝันครั้งต่อไป สร้างห้องใต้หลังคาในโรงจอดรถ
คำแนะนำถึงผู้อ่าน เมื่อลองอาศัยอยู่ในบ้านจริง ๆ จะเห็นว่ามีส่วนที่ต่างไปจากที่คิดไว้ ความคิดของผู้อยู่อาศัยก็คงจะเปลี่ยนไป ดังนั้น ให้สร้างไปเรื่อย ๆ แทนที่จะสร้างให้เสร็จตั้งแต่แรก
บริษัท Bauhouse
45-1 นานาโคได เมืองโนดะ จังหวัดจิบะ
โทร. 04-7127-8200
http://www.bauhouse.co.jp/
Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.