เครื่องดูดควันท่อไอเสียในโรงจอดรถจำเป็นหรือไม่?

โดม สุริยะพรหมชัย

โดยปกติโรงจอดรถในบ้านเราส่วนใหญ่มักจะเป็นแบบเปิดโล่ง เนื่องจากลักษณะการใช้งานที่ต้องใช้กันทุกวัน ประกอบกับเมื่อมีการสตาร์ทเครื่องยนต์รถจะปล่อยไอเสียออกมา ดังนั้น การทำโรงจอดรถแบบปิด ไอเสียที่ถูกปล่อยออกมาก็จะอบอวลอยู่ภายในโรงจอดรถ ฉะนั้น โรงจอดรถในบ้านเราส่วนใหญ่จึงมักนิยมทำแบบเปิดโล่ง มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
แต่สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการใช้ชีวิตในแบบ Garage Life แล้ว การได้เห็น ได้ชื่นชม และใกล้ชิดกับรถคันโปรด เป็นเรื่องที่ดูจะขัดกันพอสมควร แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ สิ่งสำคัญอยู่ที่การออกแบบโรงจอดรถให้เหมาะสมกับความต้องการ และวัตถุประสงค์การใช้งานได้อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะสำหรับรถที่ไม่ได้ใช้งานเป็นประจำหรือที่เรียกกันว่า “รถเก็บ” เช่น คลาสสิคคาร์ หรือ ซูเปอร์คาร์ นั้น การมีโรงจอดรถแบบปิดถือเป็นเรื่องเหมาะสม เนื่องจากสามารถป้องกันปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องหนูกัดสายไฟ ซึ่งเป็นเรื่องน่าตกใจว่าในเมืองไทยมีซูเปอร์คาร์โดนหนูกัดสายไฟ และต้องเสียค่าซ่อมไปหลายแสนบาทแล้วหลายคัน
นอกจากนั้น โรงจอดรถแบบปิดยังช่วยในเรื่องของการควบคุมอุณหภูมิ ซึ่งเป็นการช่วยรักษาสีรถและชิ้นส่วนประเภทยางต่างๆ อีกด้วย สำหรับรถเก็บเหล่านี้ถึงแม้ว่าจะไม่ได้มีโอกาสพาไปออกกำลังบ่อยนัก การได้อุ่นเครื่องเพื่อให้ชิ้นส่วนภายในทำงานบ้างถือเป็นเรื่องปกติ และเมื่อติดเครื่องยนต์อยู่ในโรงจอดรถแล้วการระบายอากาศที่ดีด้วยการติดตั้งเครื่องดูดควัน จึงเป็นสิ่งที่ควรทำควบคู่กันไป ซึ่งเมื่อมีการติดตั้งพัดลมดูดอากาศเข้าแล้วจำเป็นจะต้องมีช่องเปิด เพื่อให้อากาศจากภายนอกเข้ามาแทนที่ด้วย
พัดลมดูดอากาศที่นิยมใช้ในโรงจอดรถสามารถแบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ
1. พัดลมดูดอากาศชนิดติดผนัง/ฝ้าเพดาน โดยขนาดที่นิยมใช้ในบ้านพักคือ ขนาดใบพัด 12” ที่มีปริมาณการระบายลม 1300 ลบ.ม./ชม. พัดลมชนิดนี้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานระบายอากาศภายในที่พักอาศัยจึงมีอัตราการระบายลมไม่มากนัก ฉะนั้นการนำมาติดตั้งเพื่อระบายลมไอเสียของรถยนต์จึงควรจะติดตั้งให้อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับท่อไอเสีย เพื่อลดการกระจายตัวของควัน

พัดลมดูดอากาศชนิดติดฝ้าและผนัง
พัดลมดูดอากาศชนิดติดฝ้าและผนัง

2. พัดลมดูดอากาศชนิดท่อหรือ โบลว์เออร์ ลักษณะเป็นท่อทรงกระบอกมีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 10” ขึ้นไป ปลายด้านหนึ่งสามารถต่อท่ออ่อนระบายอากาศออกนอกบริเวณได้ นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม, ศูนย์ทดสอบแรงม้ารถยนต์ มีน้ำหนักเบาและยังสามารถดัดแปลงให้ติดตั้งกับผนังได้ ให้แรงระบายลม 70 ลบ.ม./นาที มีข้อเสียคือเสียงดังมากและท่อระบายลมไม่ได้ถูกออกแบบมาเผื่อความร้อนสูง
พัดลมแบบโบลว์เออร์ สำหรับงานอุตสาหกรรม
พัดลมแบบโบลว์เออร์ สำหรับงานอุตสาหกรรม

3. เนื่องจากยังไม่มีชื่อเรียกอย่างเป็นมาตรฐานในเมืองไทยจึงขอเรียกพัดลมดูดควันไอเสียโดยเฉพาะไปก่อน เป็นอุปกรณ์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อการระบายควันไอเสียรถยนต์โดยเฉพาะ ประกอบไปด้วยมอเตอร์ที่โครงสร้างทำจากอลูมินั่มอัลลอยทนความร้อนสูง และส่วนปลายท่อรับไอเสียที่ออกแบบให้สามารถปรับระดับเพื่อให้ตรงกับปลายท่อไอเสียของรถแต่ละรุ่นไม่ว่าจะป็นแบบท่อเดี่ยวออกกลางเช่น Porsche Cayman, Lamborghini Aventador, Ferrari 458 หรือท่อคู่ออกสองฝั่งอย่าง Ferrari 599, Porsche GT2 เป็นต้น ระหว่างปลายท่อรับไอเสียกับมอเตอร์ จะถูกติดตั้งด้วยท่อยางซิลิโคนทนความร้อนสูงสองชั้น งานเชื่อมและวัตถุดิบที่นำมาประกอบทั้งหมดจะถูกผลิตอย่างประณีตโดยโรงงานผลิตชิ้นส่วนอากาศยานโดยเฉพาะจึงมั่นใจได้ถึงคุณภาพและความสวยงานของงานเชื่อมโลหะ ข้อเสียเพียงอย่างเดียวของพัดลมดูดควันชนิดนี้คงจะเป็นเรื่องของราคาที่สูงกว่าสองชนิดแรกอยู่พอสมควร
อุปกรณ์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อการระบายควันไอเสียรถยนต์โดยเฉพาะ
อุปกรณ์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อการระบายควันไอเสียรถยนต์โดยเฉพาะ

หากไม่นับเรื่องค่าใช้จ่ายแล้ว การมีอุปกรณ์ชนิดนี้ตั้งไว้ในโรงจอดรถคงเปรียบเหมือนการมีโซฟาสวยๆสักชุดในห้องรับแขกที่เป็นเรื่องของความสวยงามและรสนิยมโดยเฉพาะ

Comments are closed.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

Save