โรงจอดรถแบบมินิมอลที่มีประสิทธิภาพการใช้งานสูง
บ้านคุณโยชิดะ จังหวัดนาระ
โรงจอดรถที่สร้างขึ้นเพื่อให้สามารถจอดรถคันโปรดใกล้ที่ทำงาน ไม่ใช่จอดที่บ้านเท่านั้น ถึงแม้จะมีขนาดเล็กแต่ก็เป็นโรงจอดรถแบบมินิมอลที่สมเหตุสมผลพร้อมฟังก์ชันมากมาย
เรื่อง: โยชิฮิโกะ นิชิยามะ ภาพ: ยาซุฮิโร โยโกซาวา แปล: สุภารัตน์ ศิริรัตนพันธ
ในการก่อสร้างที่อยู่อาศัยมี “ที่อยู่อาศัยแบบมินิมอล” ที่ประกอบด้วยองค์ประกอบขั้นต่ำเท่าที่จำเป็นสำหรับให้คนอยู่อาศัย ไม่ต้องพูดถึง “บ้านหลังเล็ก” และ “กระท่อมพักผ่อน Cup Martin” บนชายฝั่งทะเลสาบ Geneva ที่ออกแบบโดย Le Corbusier ว่ามีการใช้พื้นที่ที่รวมเอาฟังก์ชันต่างๆ เข้าด้วยกันอย่างเหมาะสมเพียงใด แต่เป็นโจทย์ที่ไม่มีที่สิ้นสุดสำหรับผู้ที่เพลิดเพลินกับ Garage Life ไม่ใช่แค่สำหรับสถาปนิกเท่านั้น ในที่นี้จะขอแนะนำโรงจอดรถแบบมินิมอลที่รวมเอาฟังก์ชันสำหรับการเก็บรักษารถให้อยู่ในสภาพที่ดีที่สุด
คุณโยชิดะผู้รัก Lamborghini มาก ต้องการโรงจอดรถที่อยู่ใกล้บริษัท จึงออกแบบโรงจอดรถแบบมินิมอลและสร้างโรงจอดรถเฉพาะสำหรับ Aventador S ขึ้นมา เมื่อปิดชัตเตอร์ลง จะดูไม่ต่างจากโรงจอดรถแบบยูนิตที่มีอยู่ทั่วไป แต่การตกแต่งภายในเป็นรูปแบบที่กะทัดรัดและได้รับพิจารณามาอย่างดี
เครื่องปรับอากาศที่ควบคุมความชื้นภายในโรงจอดรถฝังอยู่ใต้เพดาน ติดพัดลมดูดอากาศ 2 ตัวใกล้เพดาน และอีก 1 ตัวใกล้พื้น ยิ่งไปกว่านั้น พัดลมดูดอากาศยังได้รับการออกแบบให้ทำงานอัตโนมัติประสานกับการเปิดและปิดชัตเตอร์
เก็บรักษารถคันโปรดให้อยู่ในสภาพที่ดีที่สุด
ที่เล่ามาจนถึงตอนนี้เป็นฟังก์ชันที่มีอยู่ทั่วไปในโรงจอดรถ สิ่งที่ควรกล่าวถึงเป็นพิเศษเกี่ยวกับโรงจอดรถนี้คือ จุดที่มีการสร้างพื้นที่ที่ควรเรียกว่าห้องใต้หลังคา และมีการติดตั้งพัดลมถ่ายเทอากาศและพัดลมดูดอากาศในพื้นที่ดังกล่าว นั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้รู้สึกว่ามีช่องว่างระหว่างความสูงเมื่อดูจากภายนอกและความสูงของเพดานภายในโรงจอดรถ และพัดลมถ่ายเทอากาศและดูดอากาศนี้ได้รับการออกแบบให้ทำงานอัตโนมัติเมื่ออุณหภูมิสูงตั้งแต่ 40 °C ขึ้นไป โดยมีการปรับเพื่อไม่ให้อุณหภูมิภายในโรงจอดรถสูงเกินไป หากโรงจอดรถมีขนาดใหญ่ จำเป็นต้องใช้พลังงานจำนวนหนึ่งเพื่อรักษาสภาพแวดล้อมภายในอาคารให้คงที่ แต่ถ้ามีพื้นที่สำหรับรถ 1 คันก็เป็นการประหยัดพลังงานด้วย โรงจอดรถแบบมินิมอลเป็นโรงจอดรถที่มีประสิทธิภาพด้วย
เนื่องจากเป็นโรงจอดรถสำหรับเก็บรักษาเรือธงของ Lamborghini ที่เรียกว่า Aventador S นอกเหนือจากฟังก์ชันจึงต้องไม่ลืมแสดงความหรูหราด้วย สิ่งที่คุณโยชิดะตั้งเป้าหมายไว้คือ ห้อง Ad Personam ที่อยู่ในโชว์รูมอย่างเป็นทางการของ Lamborghini เขาเลือกสี วัสดุของพื้นและผนังโดยอิงโชว์รูมดังกล่าว จึงสร้างออกมาเหมือนบรรยากาศของโชว์รูมทุกอย่าง
PLANNING DATA & MATERIALS
โรงจอดรถที่ใช้แนวคิดโชว์รูม
เต็มไปด้วยไอเดียและฟังก์ชันต่างๆ
อันดับแรก สิ่งที่ดึงดูดสายตาคือ พื้นซึ่งปูด้วยกระเบื้องสี่เหลี่ยม 60 ซม. เป็นพื้นที่บุด้วย LUMINE ของ “Nittai Kogyo” จำนวน 50 ชิ้น สะท้อนให้เห็นตัวถังสีขาวของ Aventador S อย่างสวยงาม ที่กั้นล้อก็สั่งทำพิเศษโดยช่างฝีมือจากวัสดุแบบเดียวกับกระเบื้อง จึงเสร็จออกมาโดยไม่รู้สึกว่ามีที่กั้นล้ออยู่ นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับไฟส่องสว่างเพื่อให้รถดูเด่นมากที่สุด ไฟส่องสว่าง LED แบบยาวที่จัดเรียงเป็นเส้นตรงที่มุมเพดานผลิตโดย “FKK Co., Ltd.” เป็นไฟที่ใช้ในโรงแรมและร้านหรู และยังติดไฟสปอตไลท์ฝังเพดานเพื่อส่องให้เห็นรถด้วย นอกจากนี้ยังใช้ไฟ LED แบบยาวที่ด้านนอกของชัตเตอร์ โรงจอดรถที่เปิดไฟในเวลากลางคืนประสบความสำเร็จในการสร้างบรรยากาศที่แตกต่างไปจากตอนกลางวันอย่างสิ้นเชิง
คุณโยชิดะซึ่งมีประสบการณ์ในช่วงที่ซูเปอร์คาร์ได้รับความนิยมอย่างสูงสมัยเรียนอยู่ชั้นประถม 1, 2 ในขณะนั้น เขาใฝ่ฝันถึงรถ Countach และคิดว่าสักวันหนึ่งจะต้องได้เป็นเจ้าของ Countach ให้ได้ รถ Lamborghini คันแรกที่ได้มาคือ Gallardo และเปลี่ยนมาใช้ Aventador LP700-4 แล้วเปลี่ยนเป็น Aventador S. ในปัจจุบัน ทราบมาว่า เขาจอง Aventador SVJ Roadster ได้แล้วและมีกำหนดส่งมอบในฤดูใบไม้ผลิปี 2020 โครงการใหม่อยู่ระหว่างการสร้างโรงจอดรถเพื่อเก็บ SVJ เขาวางแผนอยากให้โรงจอดรถถัดไปที่จะสร้างขึ้น สามารถเก็บรถได้ 2-3 คัน วันที่ Countach จะมาจอดอยู่ข้าง SVJ Roadster อาจไม่นานเกินรอ
PLANNING DATA
เจ้าของ คุณโยชิดะ
ครอบครัว ภรรยา ลูกสาว
สถานที่ จังหวัดนาระ
สร้างเสร็จ เดือนพฤษภาคม 2019
ค่าก่อสร้าง 8 ล้านเยน
พื้นที่ที่ดิน 60 ตร.ม.
พื้นที่โรงจอดรถ 20 ตร.ม.
โครงสร้าง โครงสร้าง S
การตกแต่งภายนอก ผนังโลหะ, Galspan
การตกแต่งภายนอก บอร์ดฉนวนกันเสียง ปิดด้วยผ้า
รถยนต์คันโปรด Lamborghini Aventador S ปี 2017
OWNER’S CHECK
ส่วนที่ชอบที่สุด : สามารถเพลิดเพลินกับบรรยากาศของโชว์รูมในขณะที่อยู่ในโรงจอดรถของตนเอง ทางเข้าที่ถูกปิด ชวนให้นึกถึงโรงแรมที่เป็นระบบสมาชิก
ส่วนที่อยากปรับปรุง : ติดตั้งกระเบื้องญี่ปุ่น แต่คิดว่าควรใช้กระเบื้องอิตาลีที่มีมาตรฐาน CI เช่นเดียวกับของสำนักงานใหญ่ของ Lamborghini
ความฝันครั้งต่อไป: มีกำหนดจะรับมอบ Aventador SVJ Roadster ในปีหน้า จึงตั้งใจจะปรับปรุงโรงจอดรถเพิ่มเติม
คำแนะนำถึงผู้อ่าน ควรใส่ใจกับอุปกรณ์ไฟส่องสว่าง โดยเน้นที่คุณภาพแบบเดียวกับไฟที่ใช้ในโรงแรม แนะนำให้ใช้ระบบไฟส่องสว่าง LED FKK ที่คัดสรรมาแล้ว
COMMENT FROM A BUILDER
บริษัท Memory Home จำกัด
ประธานกรรมการ คุณโทชิยะ โยชิดะ
เพื่อดูดอากาศที่อันตรายต่อร่างกายมนุษย์ออกไปอย่างสมบูรณ์แบบ จึงนำระบบถ่ายเทอากาศปริมาณมากที่ภูมิใจว่าสามารถดูดอากาศได้ 2,000 ลบ.ม. ต่อชั่วโมงมาใช้ นอกจากนี้ยังนำระบบถ่ายเทอากาศในห้องใต้หลังคาตลอด 24 ชั่วโมงและเซ็นเซอร์อุณหภูมิตั้งแต่ 40 °C ขึ้นไปมาใช้ โดยใส่ใจและเน้นความสะดวกสบายในที่ร่ม
บริษัท Memory Home จำกัด
801 ตำบลคาวาฮาระโจ เมืองเท็นริ จังหวัดนาระ
https://www.memoryhome.co.jp
Comments are closed.